Acinetobacter baumannii (อซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอ) เป็นแบคทีเรียแกรมลบทรงแท่งสั้น ค่อนข้างกลม (coccobacillus) ที่สามารถก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ และกำลังได้รับความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในฐานะที่เป็นเชื้อที่ก่อโรคในโรงพยาบาล เชื้อตัวนี้สามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมเช่นดินและน้ำ และอยู่ในตระกูลของแบคทีเรียที่ไม่มีแฟลกเจลลัม (flagellum) ที่ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ แต่ใช้การเคลื่อนไหวโดยกระตุก (twitching) หรือการเคลื่อนที่ไปเป็นกลุ่ม (swarming) ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากยืดหดพิไล (pili) การเคลื่อนที่ของเชื้อสามารถเกิดจากสังเคราะห์พอลิแซ็กคาไรด์ออกนอกเซลล์จนเกิดไบโอฟิล์มด้านหลังของแบคทีเรียซึ่งผลักดันแบคทีเรียให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เช่นกัน นักจุลชีววิทยาการแพทย์มักจะแยกสกุลอซีเนโตแแบคเตอร์ออกจากวงศ์ Moraxellaceae อื่นๆโดยทดสอบออกซิเดส เนื่องจากอซีเนโตแบคเตอร์เป็นสปีชี่ส์เดียวใน Moraxellaceae ที่ไม่มีไซโตโครมซีออกซิเดส อซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอจัดเป็นหนึ่งในแบคทีเรียซึ่งมีอัตราการดื้อยาสูงในหมู่เชื้อในระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในหกสายพันธุ์ของเชื้อบนโลกที่มีความสามารถในการดื้อยาปฏิชีวนะเกือบทุกชนิด (หกสายพันธุ์หรือ "ESKAPE": Enterococcus faecium, Staphylococcus aureus, Klebsiella pneumoniae, Acinetobacter baumannii, Pseudomonas aeruginosa และสปีชี่ส์ในสกุล Enterobacter) อซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ‘อีรักแบคเตอร์’ (Iraqbacter) สืบเนื่องมาจากการปรากฏขึ้นอย่างฉับพลันครั้งแรกในหน่วยพยาบาลฐานทัพช่วงสงครามอีรัก ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสำหรับทหารผ่านศึกและทหารประจำการที่อีรักและอัฟกานิสถาน อซีเนโตแบคเตอร์ บอมมานิไอสายพันธุ์ดื้อยาเริ่มแพร่สู่โรงพยาบาลพลเรือนในแต่ละพื้นที่เนื่องจากการเคลื่อนย้ายทหารบาดเจ็บผ่านสถานพยาบาลต่างๆ
การเคลื่อนที่และการเกาะติด (Motility and Adherance)A. baumannii จัดเป็นแบคทีเรียที่เคลื่อนที่ไม่ได้ (non-motile) และตรวจไม่พบยีนสำหรับแฟลกเจลลา (Flagella) อย่างไรก็ตาม A. baumannii สามารถเคลื่อนที่แบบกระตุก (Twitching motility) โดยใช้การยืดหดของพิไลชนิดที่ 4 (Type IV pili assembly system)A. baumannii ใช้พิไลชนิดที่ 4 สำหรับทรานฟอร์มเมชันตามธรรมชาติ (Natural tranformation) และการเกาะติดพื้นผิววัตถุ (abiotic surface) ซึ่งพิไลชนิดที่ 4 นี้ในแบคทีเรียอย่าง Pseudomonas aeruginosa ถูกควบคุมการทำงานโดย Two-component sensor-regulator และ Complex chemosensory system และยังสามารถใช้ยึดเกาะกับเซลล์โฮสต์เพื่อการเพิ่มจำนวน (Colonization)
ไบโอฟิล์ม (Biofilm)
ไบโอฟิล์มเป็นสังคมของเซลล์ร่วมกับพอลิเมอร์ต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต, กรดนิวคลีอิก, โปรตีน ฯลฯ และเกี่ยวข้องกับการยึดเกาะพื้นผิววัตถุ (abiotic surface) และเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (biotic surface) ช่วยให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ยากดำรงชีวิต เช่น บนพื้นผิววัตถุที่แห้ง ไม่มีสารอาหาร อย่างสายสวนปัสสาวะและเครื่องมือทางการแพทย์อื่น ๆ ประจำถิ่นเป็นเชื้อฉวยโอกาสในโรงพยาบาล และ/หรือ ช่วยป้องกันยาปฏิชีวนะเข้าถึงตัวเชื้อ ก่อให้เกิดการดื้อยา บางสายพันธุ์ของ A. baumannii สามารถสร้างไบโอฟิล์มได้ ยีนที่เกี่ยวข้องได้แก่ cruE ซึ่งอยู่ในโอเปอรอน CruA/BABCDE chaperone-usher complex ทำหน้าที่ประกอบโครงสร้างของพิไลและขั้นตอนแรกเริ่มของการสร้างไบโอฟิล์มเพื่อยึดเกาะพื้นผิววัตถุ โอเปอรอนนี้ถูกควบคุมการทำงานโดย two-component regulatory system ที่ชื่อว่า bfmS/bfmR ในขณะที่การยึดเกาะบนผิวเซลล์ของสิ่งมีชีวิต A. baumanniiใช้พิไลอื่นที่เป็นอิสระจากโอเปอรอน CruA/BABCDE Biofilm-associated protein ของ Staphylococcus sp. เกี่ยวข้องกับการพัฒนาไบโอฟิล์มให้สมบูรณ์ซึ่งพบ Ortholog ใน A. baumannii เช่นกัน
โปรตีนในเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอก (Outer membrane proteins)เวซิเคิลจากเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอก (Outer membrane vesicles)เอนไซม์ที่เกิดจากการสลายตัวเนื่องจากการดูดซึ่ม (Hydrolytic enzymes)พยาธิกำเนิดที่ถูกเหนี่ยวนำโดยเอทานอล (Ethanol-induced pathogenesis)โปรตีนจับเพนนิซิลลิน (Penicillin-binding proteins: PBPs)การดูดซึมธาตุเหล็ก (Iron uptake)ซิเดอโรฟอร์ (Siderophores)ควอรัมเซนซิง (Quarum sensing)อื่น ๆ